Up.. | ผู้ปกครองกับบุตรหลาน | @ พร้อมที่จะช่วยลูกของท่านทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและพยายามให้กำลังใจในเวลาที่ลูกของท่านเผชิญปัญหา
อย่าใช้การลงโทษหรือการทำร้ายจิตใจใดๆ เป็นการทำให้เด็กๆพยายามมากขึ้นหรือเล่นให้ดีขึ้น
@ เมื่อเด็กแพ้ ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าและพยายามให้เด็กเคารพในคุณค่าของตนเอง
หลีกเลี่ยงการนำผลการแข่งขันของเด็กมาตำหนิ
@ ให้กำลังใจเด็กในขณะที่เด็กเล่นเทนนิส เมื่อต้องการ
หลีกเลี่ยงคำพูด วันนี้เราจะไปตีเทนนิสกัน เหมือนกับว่าท่านกำลังจะลงไปเล่นเทนนิสกับเด็กด้วย
@ ชื่นชมความสามารถในการเล่นเทนนิสของเด็ก แต่อย่าให้เด็กลืมตัว
อย่าชมจนเด็กเหลิง
@ ทำให้เด็กรู้ว่า ชนะหรือแพ้ พ่อแม่ก็รักเหมือนเดิม
อย่าทำท่าเสียใจหรือผิดหวังและปฏิบัติต่อเด็กไม่เหมือนปกติเมื่อเด็กแพ้
@ อยู่ดูจนจบการแข่งขัน และไม่ว่าผลคะแนนจะเป็นอย่างไร แสดงให้เขาเห็นว่าท่านห่วงใยและเห็นในความตั้งใจและความพยายามของเขา
อย่าเดินหนีไปเพราะว่าเด็กเล่นไม่ดี
@ แสดงความสนใจและห่วงใยในการเล่น/ความสนุกสนานของเด็กมากกว่าผลการแข่งขัน โดยการถามเด็กว่า การแข่งขันเป็นอย่างไร หนูเล่นเป็นอย่างไร แข่งสนุกไหม หลังจากเด็ก
แข่งขันเสร็จ
หลีกเลี่ยงคำถามเช่น เธอชนะหรือเปล่า
@ อย่าซ้อมหนักเกินไปจนเด็กไม่อยากซ้อม (Burnout)
อย่าลืมว่าเด็กกำลังเจริญเติบโต
@ แสดงให้เด็กเห็นว่าคุณมีความสุขในการที่คุณสนับสนุนให้เขาได้เล่นเทนนิส
อย่าทำให้เด็กรู้สึกผิดว่าเขาทำตัวไม่ดีพอกับสิ่งที่คุณได้ทุ่มเทลงไป เช่น เวลา, เงิน, และตัวคุณเอง
@ พยายามฝึก/สนับสนุนให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและคิดถึงตัวเอง
อย่าสอนเด็กจากนอกสนามในระหว่างการแข่งขัน
@ เมื่อเด็กแข่งแพ้ ผู้ปกครองควรจะยอมรับในความพ่ายแพ้ของเด็ก (ผู้ปกครองบางคนไม่ยอมรับว่าแพ้ เข้าทำนองว่าเด็กแพ้ แต่ผู้ใหญ่ไม่แพ้) และควรสอนให้เด็กรู้ว่านั่นเป็นแค่เกมส์การ
แข่งขันเทนนิสเกมส์หนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าผลการแข่งจะเลวร้ายอย่างไร เราก็ยังมีวันพรุ่งนี้เสมอ
อย่าโมโหจนทำร้ายจิตใจเด็กด้วยคำพูดหรือทำร้ายร่างกายเด็ก
@ เวลาพูดคุยเรื่องเทนนิสกับเด็ก พยายามพูดออกมาจากความรู้สึกที่แท้จริง
อย่าพูดปดกับเด็ก
@ ให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของเขา สอนให้เด็กเผชิญหน้ากับความจริงที่จะเกิดขึ้นในการแข่งขัน รวมทั้งสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากตัวเขาเอง (เช่น เด็กโทษว่าคอร์ท
เร็ว แต่ที่จริงแล้วทั้งเด็กและคู่ต่อสู้ก็เล่นอยู่บนคอร์ทเดียวกัน) ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ เป้าหมายหลักก็คือสอนให้เด็กเล่นอย่างสุดความสามารถ และด้วยวิธี/หลักการนี้ เด็กจึงจะ
เป็นผู้ชนะที่แท้จริง (True Winner)
หลีกเลี่ยงการหาข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวให้เด็ก เช่นอ้างว่าเด็กแพ้เพราะกรรมการตัดสินไม่ดี หรือโทษว่าเพราะลมแรง)
@ แสดงความสนใจในการเล่นเทนนิสของเด็ก ด้วยการไปดูการแข่งขันบ้างบางครั้ง
หลีกเลี่ยงการไปดูการแข่งขันหรือการซ้อมของเด็กทุกครั้ง (หรือทุกวัน) |
| | @ ให้ครูฝึกเป็นผู้ตัดสินใจว่าเด็กควรจะซ้อมมากเท่าใด
อย่าบังคับเด็กให้ซ้อมหรือตำหนิเด็กที่ไม่อยากเล่นเทนนิสมาก (เท่าที่พ่อแม่คาดหวัง) สิ่งสำคัญในการซ้อมคือคุณภาพ (สมาธิ, ความพยายาม) ไม่ใช่ปริมาณ
@ ผู้ปกครองควรเข้าใจถึงความเสี่ยงของผลกระทบของความเครียด และหมั่นสังเกตว่าเด็กมีความเครียดหรือไม่ (เช่น การนอนไม่หลับ, ความกังวล/ใส่ใจกับคำติชมมากเกินไป, การขี้โกง,
การร้องไห้ ฯ)
อย่าทำเป็นไม่สนใจเวลาที่เด็กแสดงอาการกระวนกระวายไม่มั่นใจ อาการเหล่านี้มีผลมาจากการเล่นกีฬาที่มีการแข่งขันสูงเช่นเทนนิส
@ ผู้ปกครองควรคาดหวังจากการเล่นเทนนิสของเด็กอย่างเดียวคือการเล่นเทนนิสนั้นจะทำให้เด็กเป็นคนที่มีคุณภาพ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะและรู้อภัย นอกเหนือจากนั้น (เช่นผลแพ้
ชนะ, รางวัล) เป็นรางวัลจากการเล่นอย่างเต็มที่ของเด็กเท่านั้น
อย่าคาดหวังว่าเด็กจะเป็นแชมป์เสมอ หรือจะเป็นนักเทนนิสอาชีพที่ประสบความสำเร็จ
@ พยายามชักจูงและสนับสนุนให้เด็กๆเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมอื่นๆบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้ด้านอื่นๆบ้าง
อย่าบังคับให้เด็กสนใจเฉพาะเทนนิสอย่างเดียว
@ เปรียบเทียบความก้าวหน้า/ความสำเร็จของเด็กกับความสามารถหรือเป้าหมายของเขา
อย่าเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นหรือคู่แข่ง
@ พยายามกระตุ้นหรือสอนเด็กอย่างสร้างสรรค์ (Positive and Caring Way) ควรให้คำติชมเด็ก ด้วยอัตราส่วน การชม (Positive Feedback) : การติ (Negative Feedback) = 3 : 1
หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือเยาะเย้ยดูถูกถากถาง (Harassing and Sarcasm) เป็นการกระตุ้นเด็ก
@ สอนให้เด็กๆ เคารพ/เชื่อมั่นในหลักการของความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา (Sportsmanship), การประพฤติตนดี (Good Behavior) และการมีจรรยาบรรณ (Ethics)
อย่าทอดทิ้งเด็กที่ประพฤติไม่ดี (เช่นพูดโกหก, พูดจาหยาบคาย, หรือไม่เกรงใจผู้อื่น) หรือมองข้ามพัฒนาการของเด็ก ถ้าเด็กเริ่มแสดงลักษณะนิสัยที่ไม่ดี ผู้ปกครองควรพยายามใกล้
ชิดกับเด็กให้มาก และพร้อมที่จะตักเตือนหรือแก้ไขถ้ารับไม่ได้กับสิ่งที่เด็กแสดงออกมา
@ อย่าให้รางวัลหรือติดสินบนเด็ก เพื่อให้เด็กเล่นเทนนิสชนะ
@ ผู้ปกครองและเด็กควรจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆและควรจะพักจากการเล่น/ฝึกซ้อมเทนนิสบ้าง
หลีกเลี่ยงการทะเลาะโต้เถียงหรือใช้เวลามากเกินไปพูดเรื่องเทนนิสกับเด็ก
@ ความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขของเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ดังนั้นจงอย่าให้ความสำคัญแก่เทนนิสมากไปกว่าบุตรหลานของท่าน
@ นักเทนนิสต้องการความเป็นส่วนตัวเมื่อเขาแข่งขันแพ้ การแสดงความห่วงใยเล็กๆน้อยๆ เช่นการตบไหล่เบาๆหรือการพูดให้กำลังใจ (โดยไม่ใช้คำพูดที่แสดงอารมณ์ไม่พอใจ) ก็พอแล้ว
ในสถานการณ์เช่นนั้น ผู้ปกครองอาจจะพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขันได้เมื่อเด็กคลายความเสียใจบ้างแล้ว
อย่าบังคับให้เด็กฟังคุณหลังจากแพ้จากการแข่งขันทันที
@ ผู้ปกครองต้องระวังเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บของเด็กอย่างจริงจัง
อย่าปล่อยละเลยเกี่ยวกับอาการเจ็บปวดของเด็กและอย่าบังคับให้เด็กเล่นเทนนิสเมื่อมีอาการเจ็บ
@ แสดงให้เด็กทราบว่าท่านพร้อมอยู่เสมอที่จะไปรับไปส่งสำหรับการเล่นหรือแข่งขันเทนนิส (สำหรับในเมืองไทย เด็กจะไม่มีปัญหาเรื่องการไปรับไปส่ง เด็กจะไม่รู้สึกว่าถูกผู้ปกครอง
ทอดทิ้ง ไม่สนใจ ตรงกันข้ามส่วนใหญ่แล้วผู้ปกครองออกจะประคบประหงมกันมากเกินไป)
หลีกเลี่ยงการเฝ้าดูเด็กทุกๆครั้งของการซ้อมหรือการแข่งขัน |
| |
|