Up.. |  | | ความยากของเทนนิส
เทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องการความละเอียด แม่นยำ แน่นอน ต้องการจังหวะเวลาที่พอดี, ความสัมพันธ์ การทำงานระหว่างมือ-ตา-เท้า (Coordination), ความเร็ว, การตัดสินใจ, และความทนทานของร่างกาย โดยเฉลี่ยแล้วในการแข่งขันเทนนิสแต่ละครั้ง ผู้เล่นจะต้องทำการตัดสินใจประมาณ 900 1,000 ครั้ง และแต่ละครั้งจะมีเวลาไม่ถึง 1 วินาที
ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของกีฬาเทนนิสคือเป็นแบบเล่นๆ-หยุดๆ (Stop and go) ซึ่งไม่เหมือนกับฟุตบอลหรือบาสเกตบอล ที่มีการเล่นอย่างต่อเนื่อง เทนนิสจึงมีการใช้ความคิดในช่วงจังหวะหยุดระหว่างการเล่น (Mind with dead time) โดยเฉพาะช่วงเวลาระหว่างแต้ม (20 วินาที) และช่วงเวลาที่เปลี่ยนข้าง (1 1.5 นาที) ซึ่งการไม่ต่อเนื่องนี้จะสร้างความกดดันให้กับผู้แข่งขัน ในการแข่งขันเทนนิสหนึ่งแมทช์พบว่า 1 ใน 3 ของเวลาเท่านั้นที่มีการตีเทนนิสกันจริงๆ และ 2 ใน 3 ส่วนของเวลาเป็นเวลาที่เสียไปในช่วงระหว่างแต้มกับช่วงเปลี่ยนข้าง ในช่วงเวลาที่หยุดเล่นนี้เอง ที่จิตใจของเราจะคิดไปต่างๆ นานา เริ่มวอกแวกและไม่มีสมาธิในที่สุด ดังนั้นสภาวะจิตใจ/สมาธิของนักเทนนิสจึงถูกบังคับให้เปลี่ยนจุดสนใจกลับไปกลับมา อย่างรวดเร็วจากการเล่น (Action) มาเป็นความคิดต่างๆ (Thoughts) การเกิดความไม่ต่อเนื่องของสมาธิอย่างสม่ำเสมอนี้ ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ความคิดและสมาธิลดลง (Mental Errors) ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการตีลูกมากขึ้น (Technical errors in stroke production)
ลักษณะบางอย่างของเทนนิสที่มีผลทางด้านจิตใจและสมาธิ
การแข่งขันเป็นระบบแพ้คัดออก (Knock-out system) ผู้แข่งขันไม่มีโอกาสแก้ตัวอีก มีผลทำให้กลัวแพ้ (โดยเฉพาะเด็ก) และเวลาแข่งมีอาการเกร็ง เล่นได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ในเวลาแข่งขัน คุณจะไม่ทราบว่าเมื่อไหร่เกมส์จะเสร็จสิ้น เทนนิสไม่มีการหมดเวลาการแข่งขันเหมือนฟุตบอล
บ่อยครั้งคุณจะไม่ทราบแน่นอนว่าเมื่อไหร่จึงจะเริ่มการแข่งขันเพราะตารางแข่งขันจะระบุแค่ว่า ต่อด้วยคู่ของ (Followed by) การรอนานๆ ทำให้เบื่อและร่างกายไม่พร้อมที่จะแข่ง
ผู้ปกครองมักจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเล่น/การฝึกซ้อมของเด็กมากเกินไป ส่งผลให้เด็กเกิดความกดดันและไม่มั่นใจตนเอง
พฤติกรรมของเด็กที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจ
ไม่อยากซ้อม
หมดความพยายามง่ายๆ เมื่อต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ไม่พยายามเท่าที่ควรในเวลาแข่งขัน
ตั้งเป้าเกินความเป็นจริง
หาข้ออ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการพ่ายแพ้/ความผิดพลาด
มักจะมีข้ออ้างเวลาแพ้ หรือถ้าชนะก็มักจะบอกว่าโชคช่วย
ทำอย่างไรจึงจะสร้างแชมเปี้ยนในระดับเยาวชนนานาชาติหรือระดับอาชีพได้
จากการวิจัยพบว่าการพัฒนาเด็กให้เป็นนักกีฬาระดับสุดยอด (ระดับนานาชาติ) ใช้เวลา 8 12 ปี
สำหรับโค้ช, นักกีฬา, และผู้ปกครอง หมายถึงการซ้อมวันละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 ปี
เรียกว่า กฎ 10 ปี หรือ 10,000 ชั่วโมง (10,000 Hours Rule)
แผนการพัฒนานักเทนนิสในระยะยาว (Long Term Development Plan) , ไม่ใช่ระยะสั้น
แต่ส่วนใหญ่ ผู้ปกครองและโค้ช มักจะ หลุด ไปเน้นที่ผลระยะสั้น โดยเอาผลการแข่งขันเป็นเกณฑ์ |
|  | |
ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครอง |
ส่วนใหญ่ (โค้ช, ผู้ปกครอง, ผู้เล่น) มักจะรู้สึกว่า Winning = Success และ Losing = Failure
ทั้งโค้ชและผู้ปกครองจะต้องตระหนักว่า "ไม่มีทางลัดสำหรับการพัฒนาแชมเปี้ยน"
การเป็นนักเทนนิสระดับสูงที่ดี ต้องพัฒนาทั้งด้านร่างกาย (ทักษะ, ความแข็งแรง...) จิตใจ (ความมุ่งมั่น, สมาธิ, อารมณ์...) และสมอง (วิธีการเล่น, การตัดสินใจ, ความฉลาดเล่น...)
ดังนั้นการพัฒนานักเทนนิสจึงเร่งไม่ได้
โค้ชกับผู้ปกครองต้องช่วยกันชี้แนะและสร้าง ทัศนคติ ในการแข่งขันที่ถูกต้องให้กับเด็ก
สิ่งที่สำคัญกว่าการแพ้ชนะคือ "การเล่นเต็มความสามารถทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมหรือการแข่งขัน"
|
|
|  | |
การพัฒนานักเทนนิสในระยะยาวตามแนวทางของ ITF Age | Tennis : Non Tennis | Physical Development | Psychological Development | Technical-Tactical Development | 6 - 8 | 30 : 70 | เล่นกีฬาหลายประเภท เล่นกิจกรรมเข้าจังหวะ เล่นกีฬาที่พัฒนาด้านการทรงตัว เช่น ยิมนาสติก พัฒนาความสัมพันธ์มือ-ตา-เท้า(Coordination) | เน้นเรื่องความสนุกและการเรียนรู้ของเด็ก เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เน้นเรื่องความพยายามในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ เน้นเรื่องความสำเร็จในการทำกิจกรรม ต้องชมเด็กบ่อยๆ | ควรให้เรียนแบบกลุ่ม ต้องมีเพื่อนเล่นด้วย เน้นเรื่องการควบคุมบอลและตีโต้ให้ได้มากๆ | 9 - 10 | 50 : 50 | เล่นกีฬาที่ใช้ลูกบอล เช่น ฟุตบอล, ปิงปอง พัฒนาความสัมพันธ์มือ-ตา-เท้าและความว่องไว พัฒนาการเคลื่อนที่และจังหวะเท้า | พัฒนาให้เด็กมีความนับถือในตนเอง (Self-Esteem) สอนให้เด็กรู้จักแพ้ รู้จักชนะ เน้นกิจกรรมที่ท้าทาย เพื่อให้เด็กไม่เบื่อ เริ่มตั้งเป้าหมายในการทำกิจกรรมให้เด็ก ต้องชมเชยเด็ก เมื่อเขาทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย | หัดตีStrokes ต่างๆ ให้ครบ สอนให้เด็กรู้จัก Phases of Play เน้นเรื่องการจับกริ๊ปที่เหมาะสมและจังหวะเท้า พัฒนาเรื่องการวงสวิงที่ถูกต้องและผ่อนคลาย หัดเพิ่มความเร็วของไม้เวลาตีลูก สอนให้เด็กรู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ | 11 - 12 | 55 : 45 | พัฒนาความเร็วของปฏิกิริยาตอบสนอง เล่นกีฬาหรือเกมที่เน้นความเร็ว พัฒนา Coordination ในรายละเอียด พัฒนาความยืดหยุ่น พัฒนาความแข็งแรงของร่างกาย-ใช้ นน.ตนเอง เล่นกีฬาอื่นที่ช่วยให้การตีเทนนิสดีขึ้น | เน้นเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก เน้นเรื่องการเล่นอย่างเต็มความสามารถ ไม่ใช่เล่นเพื่อชัยชนะเพียงอย่างเดียว สอนให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความพยายาม 100% สอนให้เด็กรักการแข่งขัน | เน้นเรื่องความเร็วของไม้เวลาตีลูก พัฒนารูปแบบเกมต่างๆ โดยเฉพาะเกมบุก เน้นเรื่องความแน่นอนในการตี Strokes ต่างๆ ฝึกเรื่องสถานะการณ์ต่างๆ 5 แบบ | 13 - 15 | 65 : 35 | พัฒนาและฝึก Speed Endurance ฝึกความแข็งแรงโดยใช้ Medicine Ball, Weight เล่นกีฬาอื่นที่ช่วยให้การตีเทนนิสดีขึ้น | เน้นเรื่องวินัย (Discipline) ฝึกให้เด็กหัดตั้งเป้าหมาย (Goal Setting) เน้นเรื่องความพยายาม100% | ฝึกความแรงในการเสิร์ฟและ Ground strokes พัฒนา Game Style สำหรับผู้เล่นแต่ละคน | 16 - 18 | 70 : 30 | พัฒนาและฝึก Aerobic Endurance ฝึกความแข็งแรงโดยใช้ Weight เพิ่มการฝึกแบบ Plyometrics | เด็กควรรับผิดชอบการฝึกซ้อมด้วยตนเอง | พัฒนา Game Style และเน้นเรื่อง Tactics พัฒนาการเล่นให้เป็น Power Game |
หมายเหตุ
6 - 8 = Initiation Stage 9 - 10 = Instructional Stage 11 - 12 = Development Stage 13 - 15 = Performance Stage 16 - 18 = High Performance Stage
|
| ตัวอย่างแผนการฝึกซ้อมสำหรับเด็กอายุ 9-10 ขวบ |  |
|
การพัฒนาร่างกายในระยะยาว (Long-Term Physical Development) |  |
| องค์ประกอบของการพัฒนาเทนนิส
|  | - ในช่วงเด็ก เน้นเรื่องเทคนิคการตีที่ถูกต้อง แทคติคการเล่นที่เหมาะสม
- ในช่วงโต (อายุ 14 ปี) เรื่องของจิตใจ เป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขัน
- เมื่อพ้นสภาพเยาวชน (อายุ18 ปี) สภาวะจิตใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเทนนิสอาชีพ
สภาวะจิตใจ (Mental) สำหรับนักเทนนิสคือ
1. สมาธิ (Concentration)
2. ความกระตือรือล้น (Motivation)
3. การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
4. การควบคุมตนองและความคิด (Control of Behaviors and Thoughts)
|
| การแข่งขันระดับต่างๆ
|  | - การแข่งขันระดับเยาวชนในประเทศ เริ่มตั้งแต่รุ่นอายุไม่เกิน 8, 10 , 12, 14, 16 และ 18 ปี
- การแข่งขันระดับเยาวชนนานาชาติ (ITF) เริ่มตั้งแต่อายุ 13 ปี
สำหรับระดับเยาวชนนานาชาติ จะไม่มีการแบ่งรุ่นอายุ แต่จะแบ่งเป็นกลุ่มฝีมือและการให้คะแนน ดังนี้
| Winner | Runner-up | Semi-Final | Quarter-Final | Group 5 | 30 | 20 | 15 | 10 | Group 4 | 40 | 30 | 20 | 15 | Group 3 | 60 | 45 | 30 | 20 | Group 2 | 100 | 75 | 50 | 30 | Group 1 | 150 | 100 | 80 | 60 | Group B3 | 80 | 50 | 30 | 15 | Group B2 | 120 | 80 | 60 | 40 |
Group B1 | 180 | 120 | 80 | 60 | Group A | 250 | 180 | 120 | 80 |
- การแข่งขันระดับอาชีพ (ITF, ATP และ WTA) สามารถเข้าแข่งได้ตั้งแต่อายุ 14 ปี แต่จะมีการจำกัดจำนวน Match แข่งเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กแข่งมากจนเกิดอาการบาดเจ็บ
ในระดับอาชีพจะแบ่งความสำคัญของรายการแข่งขันตามจำนวนเงินรางวัล (เข้าไปดูรายละเอียดของ ATP และ WTA ได้ตาม Link ต่อไปนี้ รายละเอียดของ ATP และ รายละเอียดของ WTA)
|
| |
|