Up.. |  | | รายการแข่งขัน Davis Cup เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติประเภททีมชายที่ถือว่าเป็นตัวแทนของประเทศ จึงเป็นการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุด จัดครั้งแรกในปี 1900 ที่สโมสรคริกเกตลองวูดด์ (Longwood Cricket Club) ที่บอสตัน โดยการริเริ่มของ ด็อกเตอร์ ดไว้ทจ์ ฟิลเล่ย์ เดวิส (Dr. Dwight Filley Davis) ด็อกเตอร์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด นักเทนนิสถนัดซ้ายเจ้าตำรับการเสิร์ฟแบบอเมริกันทวิสต์ (American Twist) ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการแข่งขันระหว่างนักเทนนิสอเมริกันกับอังกฤษในประเภททีม เพื่อแลกเปลี่ยนมาตรฐานการเล่น และหาทางพัฒนาฝีมือนักเทนนิสอเมริกัน
เสาร์แรกของเดือนสิงหาคม ปี 1900 ทีมเทนนิสอังกฤษ (Arthur Gore, Ernest Black, และ Herbert Roper Barrett) ก็เดินทางมากับเรือเอส.เอ.แคมปาเนีย ถึงกรุงนิวยอร์ก เพื่อแข่งขันกับทีมอเมริกัน ( Holcombe Ward, Malcolm Whitman, และ Dwight Davis) ในสัปดาห์ และก่อนหน้าที่จะทำการแข่งขัน ทีมเทนนิสอังกฤษได้ไปชมน้ำตกไนแองการา (Niagara Fall) ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาด้วย ทำให้ฝึกซ้อมได้ไม่เท่าที่ควร
การแข่งขันทั้งหมดมี 5 แมตช์ เป็นการแข่งขันประเภทชายเดี่ยว 4 แมตช์ ระหว่างมือ 1 กับมือ 2 ของทั้งสองฝ่าย วันต่อมาจึงเป็นการแข่งขันประเภทคู่และวันสุดท้ายของการแข่งขันจะเป็นการเล่นประเภทเดี่ยวสลับมือ ทุกแมตช์แข่งขันระบบ 3 ใน 5 เซ็ต ในระหว่างการแข่งขัน นักเทนนิสอังกฤษพบว่าคอร์ทหญ้าที่ใช้แข่ง หญ้ายาวและนุ่มกว่าที่ประเทศอังกฤษ และที่สำคัญกว่านั้นคือทีมอเมริกันแข่งแกร่งกว่าที่คาดไว้ ผลการแข่งขันปรากฏว่านักเทนนิสอเมริกันเป็นฝ่ายชนะอย่างงดงามทุกแมตช์ใน 2 วันแรกของการแข่งขัน (Whitman d. Gore, Davis d. Black, และ Ward + Davis d. Black + Barrett) ชนะไปอย่างเด็ดขาด 3-0 การแข่งขันในวันที่สามจึงไม่จำเป็น
ปี1901 ไม่มีการแข่งขัน
ปี1902 ได้จัดการแข่งขันขึ้นที่ Crescent Athletic Club ใน Brooklyn รัฐนิวยอร์ค อเมริกันเป็นผู้ชนะอีกครั้งอย่างหวุดหวิด 3-2
ปี 1903 ยังคงมีแค่ประเทศอเมริกาและอังกฤษที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งกลับมาจัดที่ Longwood ในบอสตัน และอังกฤษเป็นผู้ได้ครองถ้วยด้วยชัยชนะ 4-1
หลังจากนั้น สหรัฐอเมริกากับอังกฤษก็ได้ถูกขอร้องให้เปิดกว้างเป็นการแข่งขันนานาชาติ ซึ่งก็ได้รับการตกลงจากประเทศทั้งสอง กฎการแข่งขันจึงถูกกำหนดขึ้น โดยชาติที่ครองตำแหน่งชนะเลิศได้อภิสิทธิ์ยืนรออยู่ในรอบชิงชนะเลิศ ส่วนชาติอื่น ๆ ต้องแข่งขันกันเองก่อนเพื่อแย่งความเป็นผู้ท้าชิงโดยใช้ระบบการแข่งขันเดิมคือ 5 แมตช์ จากเดี่ยวมือ 1, เดี่ยวมือ 2, ประเภทคู่ และปิดท้ายด้ายเดี่ยวสลับมือ แต่ละครั้งที่พบกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องเดินทางไปแข่งขันกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นประเทศเจ้าภาพ ส่วนผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศ จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันป้องกันตำแหน่งของตนเองทุกครั้ง
ปี 1904 เป็นปีแรกของการแข่งขันเทนนิสนานาชาติชิงชนะเลิศประเภททีม เบลเยี่ยมชนะฝรั่งเศส 3-2 เป็นผู้ท้าชิงอังกฤษ และพ่ายอังกฤษไป 5-0 ในการแข่งขันที่วิมเบิลดัน
ปี 1907 ออสเตรเลียเป็นชาติแรกจากตะวันออก (ในเวลานั้นใช้ชื่อว่า Australasia) ที่เข้าไปท้าชิงกับอังกฤษ หลังจากพิชิตสหรัฐอเมริกามาอย่างหวุดหวิด แต่ก็แพ้อังกฤษที่วิมเบิลดันไป 3-2
ปี 1923 มี 17 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน จึงต้องแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 โซน คือโซนยุโรปและโซนอเมริกา ปี 1955 ได้เพิ่มโซนตะวันออก (ได้แก่ประเทศในทวีปเอเชีย รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ต่อมาในปี 1966 โซนยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็น โซนยุโรป เอ. และโซนยุโรป บี . และปี 1967โซนอเมริกาก็ต้องถูกแยกเป็นโซนอเมริกาเหนือและโซนอเมริกาใต้
ปี 1973 นักเทนนิสอาชีพสามารถร่วมทีมเข้าแข่งขันรายการเกียรติยศนี้ได้ และในปีนั้นทีมออสเตรเลีย ซึ่งประกอบไปด้วยนักเทนนิสอาชีพทั้งทีม (Rod Lever, Ken Rosewall, John Newcombe, Mal Anderson) ชนะทีมอเมริกัน 5-0 ได้ตำแหน่งชนะเลิศ
ปี 1972 สหพันธ์เทนนิสนานาชาติได้ใช้ระบบการแข่งขันใหม่ โดยผู้ครองตำแหน่งซึ่งเดิมได้สิทธิ์ยืนรอในรอบชิงชนะเลิศนั้น ต้องลงแข่งขันตั้งแต่รอบแรก ๆ เช่นทีมอื่น ๆ เพราะกว่าที่ผู้ท้าชิงจะเข้าถึงรอบชิงถ้วยได้นั้น ต้องผ่านการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง และต้องเดินทางแข่งขันเกือบตลอดปี จำนวนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันมีมากกว่า 50 ประเทศ ผลการแข่งขัน ทีมอเมริกันป้องกันตำแหน่งได้ โดยชนะทีมโรมาเนียเจ้าบ้านด้วยสกอร์ 3-2
ปี 1981 ระบบการแข่งขันได้ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ด้วยการให้สิทธิ์ทีมที่สามารถเข้าชิงถ้วยได้เพียง 16 ทีมเท่านั้นและเรียกว่ากลุ่ม 16 ทีมนี้ว่า "เวิลด์กรุ๊ป (World Group)" โดยพิจารณาจากทีมที่ได้เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันปี 1980 ส่วนทีมที่เหลือจะต้องแข่งขันภายในโซนตัวเองก่อนคือ โซนตะวันออก (เอเชีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์) , โซนอเมริกา (โซนอเมริกาเหนือและโซนอเมริกาใต้), โซนยุโรป เอ. และโซนยุโรป บี. รวม 4 โซน ผู้ชนะเลิศภายในแต่ละโซนรวม 4 ทีม จะได้เข้าแทนที่ทีมที่แพ้ในการแข่งขันระหว่างทีมตกรอบแรกเวิลด์กรุ๊ป 4 ทีม ในการแข่งขันปีถัดไป และในปีเดียวกันนี้ ก็มีการให้เงินรางวัลในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทนิปปอนอีเล็คทริค (NECี) แห่งญี่ปุ่นได้ยื่นมือเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัลในการแข่งขันทั้งหมดกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลการแข่งขันในรอบชิงของ World Group ซึ่งแข่งกันที่รัฐ Cincinati ทีมอเมริกันเอาชนะทีมอาร์เจนตินา 3-1
ปี 1988 ได้มีการจำกัดจำนวนทีมในแต่ละโซน ประมาณ 5-7 ประเทศตามความเหมาะสม และทีมอื่น ๆ ในแต่ละโซนจะต้องแข่งขันในกรุ๊ป 2 ของโซนก่อน ทีมชนะเลิศในกรุ๊ป 2 จึงจะมีสิทธิ์เลื่อนฐานะขึ้นอยู่ในกรุ๊ป 1 ของปีต่อไป ส่วนทีมที่ตกรอบแรกในกรุ๊ป 1 ก็จะตกไปอยู่ในกรุ๊ป 2 เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนรอบและประหยัดงบประมาณในการจัดการแข่งขัน
ปี 1989 นำระบบไทเบรกมาใช้ในการแข่งขันเดวิสคัพ ยกเว้นในเซ็ตสุดท้าย ในปีเดียวกันนี้ ได้กำหนดให้ 2 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขันกรุ๊ป 1 ของทุกโซนรวม 8 ทีม ประกบคู่แข่งขันกับทีมที่ตกรอบแรกจากเวิลด์กรุ๊ป 8 ทีม เพื่อแย่งชิงกันเข้าสู่เวิลด์กรุ๊ปในการแข่งขันปีต่อไป
สมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) ได้ให้ความสำคัญกับเดวิสคัพ ด้วยการจัดปฏิทินการแข่งขันเทนนิสอาชีพไม่ให้ตรงกับการแข่งเดวิสคัพ ซึ่งมีกำหนดแน่นอนในแต่ละปี ตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบชิง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเทนนิสอาชีพทุกคนเข้าร่วมทีมเดวิสคัพ
ปัจจุบันการแข่งเดวิสคัพ ถือเป็นการแข่งขันเทนนิสระหว่างชาติชิงแชมป์โลกอย่างแท้จริง ทีมที่ครองตำแหน่งชนะเลิศ คือเกียรติของประเทศที่มีทีมเทนนิสที่ดีที่สุดในโลก การแข่งขันที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน และอย่างมากไม่เกิน 4 คน ประกอบด้วยประเภทเดี่ยว 2 คู่ในวันแรก ประเภทคู่ 1 คู่ในวันที่สอง และประเภทเดี่ยวสลับมือในวันสุดท้าย แต่ละครั้งต้องพร้อมที่จะเผชิญกับทุกสภาพสนาม ต้องแข่งกับฝ่ายตรงข้ามในถิ่นของคู่ต่อสู้ (Home-Court Advantage) และต้องเล่นกันถึง 3 ใน 5 เซ็ต ดังนั้นการได้ร่วมทีมเดวิสคัพจึงเป็นตัวแทนของชาติอันมีเกียรติ เพื่อรับการพิสูจน์ว่ามาตรฐานการเทนนิสของประเทศของตนเป็นอย่างไร |
|  | | ถ้วยเดวิส (Davis Cup) ถูกสร้างด้วยเงินส่วนตัวกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐของ Dwight Filley Davis (ซึ่งในปัจจุบันมีราคามากกว่า $200,000 US.) เป็นถ้วยสูงกว่า 1 ฟุต มี 2 ส่วนคือส่วนบนเป็นถ้วยเงินเคลือบทองคำไว้ภายใน ออกแบบโดย Rowland Rhodes และบริษัท Shreve, Crump & Low เป็นผู้สร้าง ส่วนฐานเป็นไม้ ใช้เป็นที่สลักชื่อผู้เล่นของทั้ง 2 ทีมที่เล่นในรอบชิงชนะเลิศ (เดิมชื่อของผู้เล่นจะถูกสลักลงบนตัวถ้วย ต่อมาใช้พื้นที่ส่วนถาด) ปัจจุบันชื่อจะถูกสลักลงบนแผ่นเงิน และนำไปติดกับส่วนฐานที่สร้างเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้พอกับการจารึกรายชื่อ ถือว่าเป็นถ้วยรางวัลที่สวยงามและทรงคุณค่ามากที่สุดใบหนึ่ง
โครงสร้างของการแข่งขัน Davis Cup |
|
World Group | | | | Argentina | Czech Rep | Morocco | Spain | Australia | France | Netherlands | Sweden | Brazil | Germany | Russia | Switzerland | Croatia | Great Britain | Slovak Rep. | USA |
|
Qualify Round Sep 20-22, 2002
8 losers of 1st Round 2002
4 winners Euro / African Zone, Group I
2 winners American Zone, Group I
2 winners of Asia / Oceania Group I
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group I | Bahama | Austria | Lebanon | แพ้คัดออก; | Canada | Belarus | India | 8 ทีมที่เข้ารอบ | Chile | Belgium | Japan | สุดท้ายของทุก | Ecuador | Finland | Korea | โซน มีสิทธิเข้า | Mexico | Greece | Indonesia | ไปเล่นในรอบ | Venezuela | Israel | New Zealand | คัดเลือกของ | | Italy | Thailand | World Group; | | Portugal | Uzbekistan | ทีมที่ตกรอบแรก | | Romania | | จะลงไปอยู่กรุ๊ป 2 | | Zimbabwe | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group II | Colombia | Armenia | China | แพ้คัดออก; | Cuba | Bulgaria | Hong Kong | ทีมชนะเลิศของ | Guatemala | Cote DIvoire | Chinese Taipei | แต่ละโซน จะได้ | Netherlands | Denmark | Kazakhstan | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 1; | Antilles | Egypt | Kuwait | ทีมที่ตกรอบแรก | Paraguay | Ghana | Malaysia | ของแต่ละโซน | Peru | Hungary | Pakistan | ต้องเข้าแข่งขันใน | Trinidad/Tobago | Ireland | Philippines | กรุ๊ป 3 ในปีถัดไป | Latvia | Uruguay | | | | Luxembourg | | | | Moldova | | | | Norway | | | | Slovenia | | | | South Aferica | | | | Ukraine | | | | Yugoslavia | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group III | Costa Rica | Andorra | Iran | พบกันหมด | Dominican Rep. | Bosnia/Herzegov. | Pacific Oceania | ในแต่ละโซน; | El Salvador | Botswana | Qatar | ทีมชนะเลิศของ | Haiti | Cyprus | Saudi Arabia | แต่ละโซน จะได้ | Honduras | Estonia | Singapore | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 2; | Jamaica | FYR Macedonia | Syria | ทีมที่ตกรอบแรก | Panama | Iceland | Tajikistan | ต้องแข่งขันใน | Puerto Rico | Lithuania | UAE | กรุ๊ป 4 ในปีถัดไป | | Madagascar | | | | Mauritius | | | | Monaco | | | | Namibia | | | | Poland | | | | Tunisia | | | | Turkey | | | | Zambia | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group IV | Antigua/Barbuda | Algeria | Bahrain | พบกันหมด | Barbados | Angola | Bangladesh | ในแต่ละโซน; | Bermuda | Azerbaijan | Brunei | ทีมชนะเลิศของ | Bolivia | Benin | Fiji | แต่ละโซน จะได้ | OECS | Burkina Faso | Iraq | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 3 | St Lucia | Djibouti | Jordan | ในปีถัดไป | US Virgin Islands | Ethiopia | Oman | | | Gabon | Sri Lanka | | | Georgia | | | | Kenya | | | | Lesotho | | | | Libya | | | | Liechtenstein | | | | Mali | | | | Malta | | | | Rwanda | | | | San Marino | | | | Senegal | | | | Sudan | | | | Togo | | | | Uganda | |
|
|
|  | |
โครงสร้างของการแข่งขัน Davis Cup 2003 |
|
World Group | | | | Argentina | Croatia | Great Britain | Spain | Australia | Czech Rep. | Netherlands | Sweden | Belgium | France | Romania | Switzerland | Brazil | Germany | Russia | USA |
|
Qualify Round
8 losers of 1st Round
4 winners Euro / African Zone, Group I
2 winners American Zone, Group I
2 winners of Asia / Oceania Group I
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group I | Bahama | Austria | India | แพ้คัดออก; | Canada | Belarus | Indonesia | 8 ทีมที่เข้ารอบ | Chile | Finland | Japan | สุดท้ายของทุก | Ecuador | Israel | Korea Rep. | โซน มีสิทธิเข้า | Peru | Italy | New Zealand | ไปเล่นในรอบ | Venezuela | Luxembourg | Pakistan | คัดเลือกของ | | Morocco | Thailand | World Group; | | Norway | Uzbekistan | ทีมที่ตกรอบแรก | | Slovak Rep. | | จะลงไปอยู่กรุ๊ป 2 | | Zimbabwe | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group II | Colombia | Andorra | China, P.R. | แพ้คัดออก; | Cuba | Bulgaria | Chinese Taipei | ทีมชนะเลิศของ | Dominican Rep. | Cote DIvoire | Hong Kong, China | แต่ละโซน จะได้ | Haiti | Denmark | Iran | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 1; | Mexico | Egypt | Kazakhstan | ทีมที่ตกรอบแรก | Netherlands Antilles | Ghana | Lebanon | ของแต่ละโซน | Paraguay | Greece | Philippines | ต้องเข้าแข่งขันใน | Uruguay | Ireland | Tajikistan | กรุ๊ป 3 ในปีถัดไป | | Monaco | | | | Poland | | | | Portugal | | | | Slovenia | | | | South Africa | | | | Tunisia | | | | Ukraine | | | | Yugoslavia | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group III | Bolivia | Algeria | Bahrain | พบกันหมด | El Salvador | Angola | Kuwait | ในแต่ละโซน; | Guatemala | Armenia | Kyrgyzstan | ทีมชนะเลิศของ | Honduras | Estonia | Malaysia | แต่ละโซน จะได้ | Jamaica | Hungary | Pacific Oceania | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 2; | Puerto Rico | Lithuania | Qatar | ทีมที่ตกรอบแรก | St. Lucia | Madagascar | Syria | ต้องแข่งขันใน | Trinidad & Tobago | Namibia | UAE | กรุ๊ป 4 ในปีถัดไป | | Azerbaijan | | | | Bosnia/Herzegovina | | | | Cyprus | | | | Georgia | | | | Latvia | | | | Macedonia, F.Y.R. | | | | Moldova | | | | Turkey | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group IV | Barbados | Benin | Bangladesh | พบกันหมด | Bermuda | Botswana | Brunei | ในแต่ละโซน; | Costa Rica | Burkina Faso | Myanmar | ทีมชนะเลิศของ | Eastern Caribbean | Djibouti | Oman | แต่ละโซน จะได้ | Panama | Gabon | Saudi Arabia | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 3 | US Virgin Islands | Mali | Singapore | ในปีถัดไป | | Nigeria | Sri Lanka | | | Senegal | Vietnam | | | Togo | | | | Uganda | | | | Iceland | | | | Kenya | | | | Malta | | | | Mauritius | | | | Rwanda | | | | San Marino | | | | Zambia | |
|
|
|  | |
โครงสร้างของการแข่งขัน Davis Cup 2004 |
|
World Group | | | | Argentina | Canada | Morocco | Spain | Australia | Croatia | Netherlands | Sweden | Austria | Czech Republic | Romania | Switzerland | Belarus | France | Russia | USA |
|
Qualify Round
8 losers of 1st Round
4 winners Euro / African Zone, Group I
2 winners American Zone, Group I
2 winners of Asia / Oceania Group I
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group I | Brazil | Belgium | Chinese Taipei | แพ้คัดออก; | Chile | Finland | India | 8 ทีมที่เข้ารอบ | Ecuador | Germany | Indonesia | สุดท้ายของทุก | Paraguay | Great Britain | Japan | โซน มีสิทธิเข้า | Peru | Greece | New Zealand | ไปเล่นในรอบ | Venezuela | Israel | Pakistan | คัดเลือกของ | | Luxembourg | Thailand | World Group; | | Slovak Rep. | Uzbekistan | ทีมที่ตกรอบแรก | | South Africa | | จะลงไปอยู่กรุ๊ป 2 | | Zimbabwe | |
|
| American | Euro / African | Asia / Oceania | Group II | Bahamas | Algeria | China, P.R. | แพ้คัดออก; | Cuba | Bulgaria | Hong Kong, China | ทีมชนะเลิศของ | Dominican Rep. | Denmark | Iran | แต่ละโซน จะได้ | Haiti | Egypt | Korea, Rep. | ขึ้นไปอยู่กรุ๊ป 1; | Jamaica | Georgia | Kuwait | ทีมที่ตกรอบแรก | Mexico | Hungary | Lebanon | ของแต่ละโซน | Puerto Rico | Ireland | Malaysia | ต้องเข้าแข่งขันใน | Uruguay | Italy | Philippines | กรุ๊ป 3 ในปีถัดไป | | Latvia | | | | Norway | | | | Poland | | | | Portugal | | | | Serbia&Montenegro | | | | Slovenia | | | | Tunisia | | | | Ukraine | |
|
|
|  | | ผลการแข่งขัน World Group รอบชิงชนะเลิศ ตั้งแต่ปี 1981 - 2002
| World Group | - | Final Round | 1981 | United States | 3-1 | Argentina (Cincinati) | 1982 | United States | 4-1 | France (Grenoble) | 1983 | Australia | 3-2 | Sweden (Melbourne) | 1984 | Sweden | 4-1 | United States (Goteborg, Sweden) | 1985 | Sweden | 3-2 | Germany (Munich) | 1986 | Australia | 3-2 | Sweden (Melbourne) | 1987 | Sweden | 5-0 | India (Goteborg, Sweden) | 1988 | Germany | 4-1 | Sweden (Goteborg, Sweden) | 1989 | Germany | 3-2 | Sweden (Stuttgart, Germany) | 1990 | United States | 3-2 | Australia (St. Petersburg, Florida) | 1991 | France | 3-1 | United States (Lyon) | 1992 | United States | 3-1 | Switzerland (Fort Worth, Texas) | 1993 | Germany | 4-1 | Australia (Dusseldorf) | 1994 | Sweden | 4-1 | Russia (Moscow) | 1995 | United States | 3-2 | Russia (Moscow) | 1996 | France | 3-2 | Sweden (Malmo, Sweden) | 1997 | Sweden | 5-0 | United States (Goteborg, Sweden) | 1998 | Sweden | 4-1 | Italy (Milan, Italy) | 1999 | Australia | 3-2 | France (Nice) | 2000 | Spain | 3-1 | Australia (Barcelona, Spain) | 2001 | France | 3-2 | Australia | 2002 | Russia | 3-2 | France |
|
|
| |
|